ซ่อมแปลงปั้มน้ำ

ซ่อมแปลงปั้มน้ำให้ใช้ได้ต่อ
เป็นการซ่อมและแปลงปั้มน้ำอัตโนมัติเดิมที่ถังผุและรั่วแล้ว  ถ้าไม่เปลี่ยนถัง ก็สามารถแปลงให้ใช้ต่อได้ กล่าวคือมอเตอร์ปั้มน้ำยังใช้การได้อยู่ ปั้มรั่วก็ถือโอกาสซ่อมเองซะเลย
1  ถอดชิ้นส่วนออก โดยที่สวิทซ์แรงดัน(pressure swith) ที่เป็นกระบอกกลม มีสายไฟติดอยู่ ให้จดจำการต่อสายไฟในกล่องไฟและที่สวิทซ์นี้ให้ดี
2 เปลี่ยนซีลหรือโอริง(O ring)ที่ปั้มและท่อดูด  ประเก็นยางหน้าแปลน ซีลที่เพลาปั้ม ควรเปลี่ยนทั้งชุดเพราะซีลมักจะหมดอายุในเวลาไล่เลี่ยกัน หากเพลาเป็นเหล็ก และเป็นสนิม ให้ขัดสนิมที่เพลาและที่เบ้า พ่นสีกันสนิม แล้วพ่นสีจริงสักสาม-สี่ชั้น จะช่วยได้ แต่ไม่แน่เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสนิมกินลึกหรือตื้น หน้าแปลนถ้าเป็นเหล็กและผุแล้วก็ให้เปลี่ยน

3 ถอดตัวเติมอากาศออก(ตัวควบคุมระดับน้ำในถัง)
4 ตัดแผ่นยาง ขนาดใส่พอดีฝาเกลียว เพื่อปิดช่องที่จะต่อกับตัวเติมอากาศ(ไม่ใช้งานแล้ว) โดยเลื่อนพาสติกล็อคท่อให้อยู่ไกล้ปลายท่อ เพื่อให้หมุนเกลียวตัวเติมอากาศเข้าได้ ขันเกลียวตัวเติมอากาศเข้าที่ อย่าขันมากเกินไปเนื่องจากเป็นพลาสติก เกลียวจะรูดได้
5 ตรวจวาล์วกั้นน้ำไหลกลับ ถ้าใช้ได้ก็ไม่ต้องเปลี่ยน ถ้าใช้ไม่ได้ก็เปลี่ยน ให้เปลี่ยนเฉพาะแหวนยางก็พอ ถ้าหาอะไหล่ไม่ได้ ก็ถอดออก(ถอดสปริงและตัวปิดช่อง) แล้วใช้วาล์วกันน้ำไหลกลับหรือเช็ควาล์ว(check valve)ที่มีขายทั่วไปมาติดที่ท่อก่อนเข้าปั้มแทนได้ การตรวจวาล์วกันน้ำไหลกลับนี้อาจใช้วิธีกรอกน้ำให้เต็มแล้วดูว่ามีน้ำไหลรั่วหรือไม่  หรือดูที่ ขณะที่ระบบท่อสมบูรณ์คือไม่มีจุดรั่ว เมื่อปั้มทำงานจนตัดแล้ว ปั้มหยุดอยู่ได้นานและควรนานมากๆจนกว่าจะมีการใช้น้ำ แต่หากปั้มยังทำงานเป็นระยะโดยที่ไม่มีการใช้น้ำ แสดงว่าวาล์วกันน้ำไหลกลับนี้อาจจะไม่ดี (ต้องแน่ใจว่าระบบท่อไม่รั่ว) ถ้าจะนำปั้มนี้ไปสูบน้ำจากบ่อหรือสระก็ใช้หัวกระโหลกหรือฟูตวาล์ว(foot valve) แทน(แต่ก่อนเรียกหัวกระโหลกแต่ปัจจุบันเป็นทองเหลืองรูปร่างไม่เหมือนแล้ว) ถ้าใช้ท่อพีวีซีอาจต้องตัดเกลียวนอกพีวีซีให้สั้นลงเพราะเกลียวยาวมากจนไปยันวาล์วทำให้น้ำไหลไม่สะดวก
 6 ต่อท่อน้ำออก โดยเอาท่อน้ำออกของเดิมออกแล้วย้ายหน้าแปลนมาอยู่ที่ทางน้ำออก ต้องตัดต่อท่อพีวีซี ข้อต่อ ให้แต่ละชิ้นส่วนสั้นลงเพื่อให้ต่อท่อได้ น็อตตรงจุดท่อน้ำเข้าถังถ้าเกะกะก็ตัดออก
7 ทำขารองรับปั้มที่ด้านหน้า
8 นำสวิทซ์แรงดัน มาติดตั้งไกล้ท่อน้ำออก โดยต่อท่อตั้งขึ้นสูงประมาณ 1 เมตร แล้วนำสวิทซ์ติดไว้ที่ปลายท่อ
9 ต่อสายไฟฟ้าผ่านสวิทซแรงดัน ก่อนเข้าปั้ม(สายหนึ่งเส้นจะต่อผ่านสวิทซ์ก่อนเข้าปั้ม ก็คือเหมือนก่อนที่จะถอดออกมา)
10 ปิดฝาต่อสายไฟ ต่อท่อให้เรียบร้อย  (อาจจะต้องมีการทดสอบการทำงานก่อนนำไปติดตั้งจริง)
11 กรอกน้ำให้เต็มท่อน้ำเข้าและปั้มน้ำ สำหรับปั้มที่นำไปใช้สูบน้ำจากบ่อหรือสระ สำหรับปั้มที่วางอยู่ที่พื้นต่ำกว่าถังพักน้ำที่จะดูด ก็เพียงเปิดวาล์วเล็กน้อยให้น้ำเข้า น้ำจะไหลมาเต็มเอง(แบบที่ต่อท่อน้ำเข้ามาจากก้นถัง)
12 ทดสอบการใช้งาน

13 ติดต้ังปั้ม ให้ตรวจสอบว่าปั้มทำงานถี่มากเกินไปหรือไม่ ถ้าต้องการให้ปั้มทำงานไม่ถี่ให้เพิ่มขนาดท่อตั้งให้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด 2 หรือ 3 นิ้ว โดยใช้ข้อต่อเพิ่ม-ลดช่วย จะได้ห้องอากาศเหมือนแบบถัง ถ้าปั้มทำงานได้ดี ก็เป็นอันเสร็จ

14 ปิดรูที่ถังทั้งหมด เพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์เข้าไปอยู่อาศัย

15 แนะนำเรื่องปั้มน้ำแบบถังต่ออีกเล็กน้อย คือ การทำให้ถังใช้ได้ทนนานสำหรับถังใหม่ ถังเก่าไม่ได้ใส่น้ำแล้วใช้เป็นแท่นยึดปั้มเฉยๆ แค่ทาสีกันสนิมภายนอกให้ดูสวยงามก็พอ ถังแรงดันจะเป็นเหล็กสองชิ้น คือส่วนครอบถังและก้นถัง เชื่อมต่อกันเป็นถัง รอยต่อนี้จะยากต่อการป้องกันสนิม และเป็นจุดที่จะเกิดสนิมแล้วถังผุมากที่สุด หากต้องการให้ถังใช้ได้ทนนาน ให้ทำดังนี้ คือ เมื่อซื้อปั้มมาไหม่ให้เปิดช่องท่อที่ถังออก(ถังมักจะมีช่องท่อออกและท่อปิดให้อย่างละหนึ่งช่อง เพื่อสะดวกในการต่อท่อ)แล้วใช้ฟิ้นโค้ท(ชนิดใช้กับภาชนะน้ำดื่มได้)ทาหรือพ่นตามรอยต่อและตามจุดเชื่อมน็อตภายในถังให้ทั่วหนาๆหน่อย ส่วนภายนอกให้ทาตามรอยทาบต่อใต้ถัง ถ้าตั้งปั้มในจุดที่โดนน้ำได้ก็ให้ทาเผื่อๆไว้ จะช่วยได้มาก ทั้งนี้ต้องมีเวลาให้ล่วงหน้า 2-3 สัปดาห์ก่อนติดตั้งปั้ม เพราะต้องรอให้ฟิ้นโค้ทแห้งก่อนนำไปติดตั้ง

 

ซีลที่ต้องเปลี่ยน

 

ซีลเพลา

 

เปลี่ยนซีลด้านหลัง โดยการเอาไม้รองแล้วเคาะตัวปั้มออกจากเสื้อปั้ม จะเห็นว่ามีการทาซิลิโคลด้วย ถ้าไม่รั่วก็อาจจะไม่ต้องเปลี่ยน เพาะทำค่อนข้างยาก

 ถอดใบพัดปั้นน้ำ โดยการขันน็อตที่กลางเพลาออก ใส่น็อตยาว 1.5-2 นิ้ว ที่ใบพัด (น็อตนี้บางครั้งใช้น็อตที่ติดมอเตอร์ได้ แต่ต้องระวังเกลียวเสีย) ค่อยๆขันน็อตเข้า น็อตจะดันใบพัดออกมา แต่วิธีนี้ถ้าเป็นปั้มขนาดเล็ก น็อตจะโดนซีล ถ้าต้องการรักษาซีลไว้ ต้องใช้วิธีอื่น หลังจากถอดใบพัดออกแล้ว (อย่าลืมเก็บลิ่มเพลา) ถอดปั้มออกจากมอเตอร์ แล้วดันซีลเพลาออก โดยดันจากทางด้านหลัง

 

ใส่แผ่นยางอุดตัวเติมอากาศ

 

เช็ควาล์วที่ปั้ม

 

เช็ควาล์วที่มีขายทั่วไป

 

ฟูตวาล์ว

 

สวิทซ์แรงดัน   เกลียวพีวีซี(ลดเหลี่ยม)ต่อกับเกลียวทองเหลืองแบบนี้มักจะรั่ว ต้องเปลี่ยนเป็นเกลียวเหล็กกับเหลียวทองเหลืองถึงจะอยู่

 

 

ทดสอบปั้ม

 

ลักษณะการติดตั้งปั้มน้ำ

 

รูปแบบหนึ่งของการเพิ่มห้องอากาศ

 

ฟิ้นโคทชนิดที่ใช้กับน้ำดื่ม กระป๋องเล็กก็มีขาย

 

แนวเกิดสนิมง่าย(ไม่ต้องเปิดถังตามรูปนะครับ)

 

จุดที่มักเกิดสนิม